วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมพัฒนาภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


กิจกรรมพัฒนาภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
     
      ภาษาเป็นการใช้คำศัพท์และไวยากรณ์เพื่อการสื่อความหมายในรูปแบบการพูด การเขียนหรือภาษาสัญลักษณ์ การใช้ภาษาของเด็กปฐมวัยเป็นการสื่อด้วยภาษาสัญลักษณ์มากกว่าการพูดหรือเขียน เด็กมีภาษาและวิธีการของเด็ก รูปแบที่เด็กแสดงออกมาที่สุดคือ ศิลปะ  การเคลื่อนไหวร่างกาย  ดนตรี  การพูด และตามด้วยกรเขียน  การเรียนรู้ภาษาของเด็กเป็นแรงขับดัน(Drive) ภายในตนประสานกับปฏิสัมพันธ์ (Interaction)กับบุคคลภายนอกและสิ่งแวดล้อมที่ต่อเนื่องกัน ดังนั้นในการสอนภาษาเด็กต้องเริ่มจากสิ่งที่เด็กสามารถสื่อได้มากที่สุดก่อน เด็กจึงจะสามารถพัฒนาทักษะภาษาได้ตามลำดับ
    สิ่งที่สำคัญที่ต้องนำมาใช้เป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาภาษาให้กับเด็กคือพัฒนาการของเด็ก ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็กดังนี้
    * พัฒนาการทางด้านร่างกาย ได้แก่ ความสามารถในการพูด  การฟัง  ซึ่งหมายถึงความสามารถของการได้ยิน การบอกซ้ายขวา การให้เด็กแสดงออกของท่าทางตามคำศัพท์ เป็นต้น
    * พัฒนาการทางสังคม การให้เด็กพูด เด็กเล่าหรือตอบคำถาม ในการสร้างความกล้าของเด็กในการมีปฏิสัมพันธ์ แต่ถ้าเด็กพูดน้อยจะมีปัญหา
    * พัฒนาทางอารมณ์ มีผลต่อเด็กทั้งทางด้านบวกและด้านลบ โดยเฉพาะเด็กขี้อาย ขาดความมั่นใจ เด็กควรได้แสดงความสามารถทางภาษาที่เด็กอิสระทีสุด คือ การวาดภาพ ดนตรี
    * พัฒนาทางปัญญา สมองเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาทางภาษาและปัญญา การได้พูดได้แสดงออกเป็นการฝึกการรับรู้และพัฒนาทางภาษา กิจกรรมทางภาษาที่จัดให้กับเด็กต้องเป็นกิจกรรมที่กระตุ้นให้เด็กเกิดมโนทัศน์ของคำ ฝึกการใช้เสียง การพูด การแต่งประโยค การตอบคำถามและการเล่าเรื่อง
     กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาของเด็กจะต้องมีหลากหลายและกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้และพัฒนาภาษาได้โดยตรง เช่น
     - กิจกรรมรักการอ่าน สร้างเสริมนิสัยรักการอ่านหนังสือและการใช้หนังสือ
     - กิจกรรมเล่าเรื่อง
     - กิจกรรมวาดภาพเป็นเรื่อง
     - กิจกรรมนิทานบทบาทสมมุติ
     - กิจกรรมการฟัง เช่น ปฏิบัติตามคำสั่ง ซ้าย-ขวา
     - กิจกรรมสนทนา
     - กิจกรรมการเขียน
     - กิจกรรมบอกชื่อ
     - กิจกรรมเรียงตัวพยํญชนะ
     - กิจกรรมหนังสือเล่มน้อยของฉัน

พัฒนาการทางภาษาของเด็ก

การจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
        ภาษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับการคิด ซึ่งจะนำไปสู่พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาในขั้นสูง ภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับการสื่อสาร ทั้งในการแสดงออกถึงความต้องการ ความรู้สึกนึกคิด และข่าวสาร อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ โดยเป็นสื่อกลางที่ช่วยให้มนุษย์สามารถถ่ายทอดความคิดที่เป็นนามธรรมได้ การจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

        การวางแผนการจัดประสบการณ์ทางภาษาควรเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจว่าการจัดประสบการณ์ มีความหมายที่กว้างกว่าการสอน หรือการถ่ายทอดความรู้ แต่เป็นการจัดเตรียมทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาทางภาษา และควรทำความเข้าใจด้วยว่าการเรียนรู้ภาษาเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กับการรู้หนังสือ (Literacy) ซึ่งหมายถึงปฏิสัมพันธ์ทางสติปัญญาที่มีความซับซ้อนที่เกิดขึ้นระหว่างผู้อ่านกับข้อความ และระหว่างความรู้เดิมกับข้อมูลใหม่ และการรู้หนังสือของเด็กปฐมวัยเป็นการรู้หนังสือที่อยู่ในระยะแรกเริ่ม (Emergent literacy) เป็นการเรียนรู้ของเด็กก่อนที่จะพัฒนาไปสู่การมีทักษะการรู้หนังสืออย่างเป็นทางการ (Sowers, 2000: 140-141; Tompkins, 1997: 365) การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยจึงต้องวางแผนให้ครอบคลุมทั้งเรื่องภาษาและการรู้หนังสือในระยะแรกเริ่ม โดยแผนดังกล่าวจะต้องเหมาะสมกับพัฒนาการทางภาษาและการรู้หนังสือของเด็ก และมีลักษณะบูรณาการ ให้เด็กได้ใช้ภาษาอย่างมีความหมายเป็นรายบุคคล

การกำหนดจุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
        การกำหนดจุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กจึงควรกำหนดให้ครอบคลุมทั้งภาครับซึ่งหมายถึงภาษาที่เด็กใช้ในการทำความเข้าใจ และภาคส่งซึ่งหมายถึงภาษาที่เด็กใช้หรือแสดงออก (Wortham, 1996: 235) ทั้งนี้ จุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ด้านภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยในภาครับและภาคส่ง (Morrow, 1989: 51-52) สรุปได้ดังนี้

1. จุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาภาครับ

    1.1 เด็กได้อยู่ในบรรยากาศที่มีการใช้ภาษา
    1.2 เด็กได้รับความพึงพอใจและความสนุกสนานผ่านทางภาษา
    1.3 เด็กมีโอกาสจำแนกเสียงที่ได้ยิน
    1.4 เด็กได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่พรั่งพร้อมไปด้วยการใช้คำใหม่ๆ
    1.5 เด็กมีโอกาสฟังและทำความเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด
    1.6 เด็กมีโอกาสเรียนรู้ที่จะทำตามคำแนะนำ หรือคำสั่ง

2. จุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาภาคส่ง

    2.1 เด็กมีโอกาสใช้ภาษาอย่างอิสระ ไม่ว่าจะอยู่ในพัฒนาการขั้นใดก็ตาม โดยได้รับกำลังใจ และการยอมรับนับถือต่อความต้องการในการสื่อสารของเด็กเอง
    2.2 เด็กได้รับการสนับสนุนให้ออกเสียงอย่างถูกต้อง
    2.3 เด็กมีโอกาสเรียนรู้คำศัพท์ที่ใช้เพิ่มเติม
    2.4 เด็กได้รับการสนับสนุนให้พูดประโยคที่สมบูรณ์ตามระดับพัฒนาการ
    2.5 เด็กได้รับการส่งเสริมให้พูดโดยใช้คำหลายๆ ประเภท ทั้งคำนาม คำกริยา คำคุณศัพท์ ใช้วลี หรือใช้ประโยค
    2.6 เด็กมีโอกาสพูดเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ
    2.7 เด็กมีโอกาสใช้ภาษาทั้งในการแสดงความรู้สึกและความคิดเห็น อาจเป็นการใช้ภาษาเพื่อการแก้ปัญหา การตั้งสมมุติฐาน การสรุปหรือการทำนายเหตุการณ์
    2.8 เด็กมีโอกาสใช้ภาษาที่สัมพันธ์กับคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์ เช่น ใช้ภาษาในการอธิบายขนาด ปริมาณ เปรียบเทียบ จำแนก จัดหมวดหมู่ หรือแสดงเหตุผล
การกำหนดสาระการเรียนรู้ที่ใช้สำหรับจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย        สาระการเรียนรู้ที่ใช้ในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งนำเสนอในที่นี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ประสบการณ์สำคัญ และสาระที่ควรเรียนรู้ ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 (กรมวิชาการ, 2546: 35) โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้

1. ประสบการณ์สำคัญด้านการใช้ภาษา เป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะการใช้ภาษา ดังนี้

    1.1 การฟัง เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับทักษะหลายทักษะและมีลักษณะของการฟังที่หลากหลาย มาชาโด (Machado, 1999: 187) กล่าวว่า การฟังที่เด็กควรมีประสบการณ์มี 5 ประเภท ประกอบด้วย

        (1) การฟังเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน (Appreciative Listening) ซึ่งเด็กควรมีโอกาสฟังตามวิธีนี้ทั้งจากการฟังเพลง กลอน หรือเรื่องราวต่างๆ
        (2) การฟังอย่างมีวัตถุประสงค์ (Purposeful Listening) เด็กควรมีโอกาสได้ฟัง และปฏิบัติตามคำแนะนำ หรือตอบสนองต่อสิ่งที่ได้ฟัง
        (3) การฟังเพื่อจำแนกความแตกต่าง (Discriminative Listening) เด็กควรมีโอกาสฟัง และแยกแยะเสียงต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม ตลอดจนจำแนกความต่างของการเปลี่ยนแปลงของเสียง
        (4) การฟังอย่างสร้างสรรค์ (Creative Listening) เด็กควรได้รับการกระตุ้นให้เกิดจินตนาการและมีอารมณ์ร่วมกับประสบการณ์ที่ได้ฟัง ซึ่งจะทำให้เด็กมีการแสดงออกด้วยคำพูด หรือการกระทำอย่างอิสระตามธรรมชาติ
        (5) การฟังแบบวิเคราะห์ (Critical Listening) เด็กควรได้ทำความเข้าใจ ประเมิน ตัดสินใจ และแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่ฟัง โดยมีครูเป็นผู้ตั้งคำถามให้เด็กคิดและตอบสนอง

        หากพิจารณาประเภทของการฟังดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่ามีความจำเป็นที่จะต้องให้เด็กได้มีประสบการณ์สำคัญด้านการฟังอย่างครอบคลุมทุกวิธี เพื่อให้เด็กเกิดความตระหนักต่อเสียงต่างๆ และนำไปสู่การเข้าใจความหมายของสิ่งที่ได้ยินในที่สุด

    1.2 การพูด เป็นวิธีการพื้นฐานที่เด็กช่วยให้เด็กได้แสดงออกซึ่งความเป็นตัวของตัวเอง อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่ช่วยให้เด็กได้พัฒนาการคิดดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นด้วย เด็กควรมีประสบการณ์สำคัญด้านการพูด (กรมวิชาการ, 2546: 37; Machado, 1999: 327) ดังนี้

        (1) การแสดงความคิด ความรู้สึก และความต้องการด้วยคำพูด
        (2) การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง หรือเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง
        (3) การอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของ เหตุการณ์ และความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
        (4) การพูดอย่างสร้างสรรค์ในการเล่น หรือการแก้ปัญหา
        (5) การเชื่อมโยงการพูดกับท่าทาง หรือการกระทำต่างๆ
        (6) การมีประสบการณ์ในการรอคอยจังหวะที่เหมาะสมในการพูด

    1.3 การอ่าน เด็กปฐมวัยควรมีประสบการณ์สำคัญในการอ่านหลายรูปแบบ ผ่านประสบการณ์ที่สื่อความหมายต่อเด็ก ทั้งการอ่านภาพจากหนังสือนิทาน อ่านเครื่องหมาย อ่านสัญลักษณ์ หรืออ่านเรื่องราวที่เด็กสนใจ

    1.4 การเขียน เด็กปฐมวัยควรมีประสบการณ์สำคัญในการเขียนหลายรูปแบบผ่านประสบการณ์ที่สื่อความหมายต่อเด็ก ทั้งเขียนภาพ เขียนขีดเขี่ย เขียนคล้ายตัวอักษร เขียนเหมือนสัญลักษณ์ หรือเขียนชื่อตนเองหรือคำที่คุ้นเคย

บันทึกครั้งที่ 3

บันทึกครั้งที่3 วันที่ 9 กรกฎาคม 2555
      อาจารย์ได้มอบหมายงาน และบอกวิธีการนำเสนองาน
งานที่อาจารย์สั่งคือ ไปถ่ายคลิปวีดีโอเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กในแต่ละช่วงวัย

บันทึกครั้งที่ 4

บันทึกครั้งที่ 4  วันที่ 6 กรกฎาคม 2555
      อาจารย์ให้นำเสนองานวีดีโอที่ไปถ่ายคลิปมา และเราจะเห็นพัฒาการของเด็กแต่ละวัยที่มีความแตกต่างกัน
   

บันทึกครั้งที่ 14

บันทึกครั้งที่ 14  วันที่ 14 กันยายน 2555
    อาจารย์ไปคุมสอบพี่ปี 5 จึงให้นักศึกษาปฏิบัติกิจกรรม เล่านิทานตามเทคนิคต่างๆ
และถ่ายคลิปวีดีโอ



บันทึกครั้งที่ 13

บันทึกครั้งที่ 13 วันที่ 7 กันยายน 2555
     วันนี้ ส่ง ปฎิทิน ที่เป็นสื่อในการสอนเด็กอนุบาล

บันทึกครั้งที่ 12

บันทึกครั้งที่ 12  วันที่ 31 สิงหาคม 2555
   วันนี้นำเสนอเพลงของแต่ละกลุ่ม พร้อมท่าประกอบ สนุกมาก อาจารย์ก็อัดคลิปวีดีโอไว้

บันทึกครั้งที่ 11

บันทึกครั้งที่ 11 วันที่ 24 สิงหาคม 2555
       อาจารย์ให้ฟังเพลงเกาะสมุย และวิเคราะห์ว่า เพลงนี้มีวัตถุประสงค์อะไร
- อาจารย์สั่งงานให้แต่งเพลงพร้อมท่าประกอบ
- อาจารย์สั่งให้เล่านิทานตามเทคนิคการเล่าที่จับฉลากได้

บันทึกครั้งที่ 10

บันทึกครั้งที่ 10 วันที่ 17 สิหาคม 2555
  ไม่มีการเรียนการสอน

บันทึกครั้งที่ 9

บันทึกครั้งที่ 9 วันที่ 10 สิงหาคม 2555
      ไม่มีการเรียนการสอน อาจารย์ติดธุระ

บันทึกครั้งที่ 8

วันที่ 3 2555 สิงหาคม
        ไม่มีการเรียนการสอนเป็นวันเข้าพรรษา

บันทึกครั้งที่ 7

บันทึกครั้งที่ 7 วันที่ 27 กรกฎาคม 2555
         วันนี้อาจารย์บาสเข้าแทน เพราะอาจารย์จ๋า ติดธุระ อาจารย์บาสได้และนำวิธีการนำเสนองานเพื่อให้มีประสิทธิภาพ

บันทึกครั้งที่ 6

บันทึกครั้งที่ 6 
       ดูเพื่อนๆนำเสนองานคลิปวีดีโอของเด็กแต่ละช่วงวัย

บันทึกครั้งที่ 5

บันทึกครั้งที่ 5  วันที่ 20 กรกฎาคม 2555
      อาจารย์ไม่ได้เข้าสอน แต่มอบหมายงานให้ไปจัดกิจกรรมเล่านิทานให้เด็กๆฟัง พร้อมสัมภาษณ์ เพื่อดูพัฒนาการทางภาษาของเด็กๆ

บันทึกครั้งที่ 1

บันทึกครั้งที่ 1  วันที่ 15 มิถุนายน 2555
    อาจารย์ให้ไปเรียนที่ห้องคอมพิวเตอร์ เพื่อศึกษาการทำบล๊อคสะสมงาน แต่อินเตอร์เน๊ตของมหาวิทยาลัย ช้ามาก ทำให้หงุดหงิด เนื่องจากไม่เคยทำมาก่อนจึงเป็นเรีองที่ยากมากสำหรับฉัน เพื่อบางคนทำได้ บางคนก็ทำไม่ได้
    อาจารย์ได้สร้าขอตกลงกฎกติกาในการเข้าเรียน

บันทึกครั้งที่ 2

บันทึกครั้งที่ 2  วันที่ 2 มิถุนายน 2555
   อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับข้อตกลงในการเข้าเรียน  ในการแต่งกายควรใส่ชุดนักศึกษาให้เหมือนกัน ไม่ควรใส่ชุดพละ และอธิบายเกียวกับรายวิชา อย่างเช่น การพัฒนา หมายถึงอะไร หมายถึง การเปลี่ยนแปลพัฒนาอย่าเป็นลำดับขั้น